ผู้ป่วยด้วยโรค ริดสีดวง ลักษณะ ของโรคบางอย่างจะคล้ายคลึงกับโรคอื่นๆ เช่น การที่มีเลือดออก ปนกับอุจจาระ หรือมีเลือดออกหลังการขับถ่าย จะคล้ายคลึงกับโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่
Table of Contents
เนื้องอกในลำไส้ หรือลำไส้อักเสบ ซึ่งทำให้บางครั้งการวินิจฉัยของโรค จําเป็นต้องอาศัยการตรวจโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
โรค ริดสีดวง ลักษณะ และอาการของโรค
การป่วยด้วยโรค ริดสีดวง ลักษณะและอาการของโลกมีได้หลายอย่าง ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค ระยะของโรคริดสีดวง รวมทั้งความแข็งแรงของร่างกายผู้ป่วย ก็มีผลต่อการแสดงอาการป่วยออกมา เช่น
- มีเลือดออกขณะขับถ่ายหรือหลังการขับถ่าย
- มีติ่งหรือก้อนบริเวณทวารหนัก
- รู้สึกเจ็บ ปวด หรือคัน บริเวณที่เป็นริดสีดวง หรือบริเวณทวารหนัก
- มีอาการหน้ามืด หรือวิงเวียนศีรษะ
- ร่างกายซีดเหลือง เหมือนคนที่เป็นโรคโลหิตจาง
โดยโรค ริดสีดวง ลักษณะ ของติ่งหรือตุ่มของริดสีดวง จะแยกออกเป็นติ่งหรือตุ่มที่เกิดขึ้นภายในร่างกาย และติ่งที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกาย โดยติ่งของริดสีดวงที่อยู่ภายในร่างกาย จะมีลักษณะเป็นตุ่มเล็กๆ อยู่บริเวณลำไส้ใหญ่ส่วนที่ต่อกับทวารหนัก
โดยข้างในติ่งจะมีลิ่มเลือดที่เกิดจากการคั่งของเลือดในเส้นเลือดดำ เมื่ออุจจาระที่มีลักษณะแข็งไปเสียดสีกับตุ่มของริดสีดวง ก็จะทำให้มีเลือดไหลออกมา ส่วนติ่งริดสีดวงที่เกิดขึ้นภายนอกร่างกาย
จะอยู่บริเวณรอบรอยย่นของทวารหนัก โดยติ่งริดสีดวงที่อยู่ด้านนอกร่างกาย จะมีลักษณะแข็งอันเนื่องมาจากเลือดที่คั่งอยู่ และการยุบลงของริดสีดวงที่ไม่สนิทของหัวริดสีดวง
ริดสีดวง มีหนอง เกิดจากสาเหตุใด
หากคุณเคยเป็น ริดสีดวง มีหนอง ไหลออกมาจกทวารหนัก จะเข้าใจความรู้สึกที่หดหู่ กลัว และกังวล ของผู้ป่วยดีที่สุด โดยผู้ป่วยส่วนใหญ่เมื่อป่วยเป็นโรคริดสีดวง จะมีเฉพาะเลือดไหลปนออกมา แต่มีผู้ป่วยบางรายที่มีหนองไหลปนออกมากับอุจจาระ และเลือดด้วย
จึงเกิดข้อสงสัยว่าน้ำหนองนี้เกิดขึ้นได้อย่างไร ก่อนที่จะไปรู้ที่ไปที่มาของน้ำหนองในหัวริดสีดวงนั้น จำเป็นจะต้องรู้จักริดสีดวงภายในและริดสีดวงภายนอก รวมทั้งระยะของริดสีดวงภายในเสียก่อน ซึ่งริดสีดวง แบ่งออกเป็น 2 ประเภท คือ ริดสีดวงภายใน และริดสีดวงภายนอก
โดยริดสีดวงทั้งสองประเภทนี้ เกิดจากการโป่งพองของเส้นเลือดดำบริเวณทวารหนัก อันเนื่องมาจากพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การขับถ่าย การใช้ชีวิตประจำวันเป็นหลัก ซึ่งริดสีดวงภายใน แบ่งออกเป็น 4 ระยะ แต่ละระยะมีอาการที่แตกต่างกัน ดังนี้
ระยะที่ 1 เริ่มเกิดตุ่มมีติ่งเล็ก ๆ ขึ้นบริเวณทวารหนัก การขับถ่ายอุจจาระจะมีเลือดไหลปนออกมา แต่หัวริดสีดวงจะไม่โผล่ออกมาภายนอกร่างกาย ผู้ป่วยจะไม่สังเกตเห็นหัวริดสีดวงในระยะนี้
ระยะที่ 2 เป็นระยะที่หัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อมีการเบ่งอุจจาระ หัวริดสีดวงจะโผล่พ้นรูทวารหนักออกมาได้ และเมื่อไยุดการเบ่งหัวริดสีดวงก็จะหดกลับไปยังตำแหน่งเดิม ในระยะนี้ก็มีเลือดปนออกมากับอุจจาระเช่นกัน ดังนั้นผู้ป่วยอาจจะสังเกตเห็นริดสีดวงได้ ในระยะนี้
ระยะที่ 3 เป็นระยะที่หัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้น และเมื่อ มีอาการไอ จาม หรือยกของหนักที่อาศัยแรงเบ่งบริเวณช่องท้อง รวมทั้งมีการเบ่งอุจจาระ จะทำให้หัวริดสีดวงทวารหนักออกมา และก็จะไม่สามารถหดกลับเข้าไปในตำแหน่งเดิมได้
จำเป็นต้องใช้นิ้วดันให้หัวริดสีดวงกลับเข้าไปด้านใน ระยะนี้ผู้ป่วยจะเริ่มมีอาการเจ็บหรือคันบริเวณทวารหนัก เพราะริดสีดวงจะต้องได้รับการเสียดสีกับทวารหนักมากขึ้นรวมทั้งได้รับแรงกระแทกจากการใช้มือในการดันหัวริดสีดวงกลับเข้าไปด้านใน
ระยะที่ 4 เป็นระยะที่ริดสีดวงมีการอักเสบมากที่สุด นอกจากมีเลือดปนออกมากับอุจจาระแล้ว หัวริดสีดวงจะอยู่ภายนอกร่างกายตลอดเวลา และไม่สามารถการกลับเข้าไปภายในร่างกายได้อีกต่อไป อันเนื่องมาจากริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้น
ดังนั้น การอักเสบจะเริ่มทำให้มีหนองเกิดขึ้น โดยน้ำหนองและเลือดจะไหลปนกับอุจจาระอยู่เสมอ บางครั้งเราจะไม่สามารถควบคุมการอุจจาระได้เนื่องจากหัวริดสีดวงที่โผล่พ้นทวารหนัก และขวางการทำงานของหูรูดบริเวณทวารหนัก
ทำให้ทวารหนักมีน้ำหนองและอุจจาระอยู่เสมอ จึงทำให้เกิดความสกปรกทำความสะอาดได้ยาก จนเกิดกลิ่นเหม็น ผู้ป่วยในระยะนี้บางคนจะมีจอาการหน้ามืดเฉียบพลัน
รวมถึงร่างกายมีอาการซีดเหลือง เนื่องจากการเสียเลือดเป็นเวลานาน จำเป็นต้องได้รับยาบำรุงเลือดเพื่อให้ร่างกายกลับมาเป็นปกติร่วมกับการรักษาริดสีดวงทวาร
ดังนั้น การที่ ริดสีดวง มีหนอง ไหลออกมาจะพบได้กับผู้ป่วยที่มีการอักเสบของริดสีดวงโดยเฉพาะผู้ป่วยที่ป่วยเป็นริดสีดวงทวาร ประเภทภายใน ระยะที่ 4 ซึ่งระยะนี้อย่างที่ทราบกันแล้วว่ามีการอักเสบและมีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย ดังนั้นส่วนใหญ่จึงจำเป็นต้องรักษากับแพทย์เฉพาะทาง
หัวริดสีดวงฝ่อ เกิดขึ้นได้อย่างไร
หัวริดสีดวงฝ่อ เป็นลักษณะ ของโรคริดสีดวง ซึ่งถึงเป็นเรื่องดี เนื่องจากเริ่มแรกริดสีดวงเกิดจากการโป่งพองของเส้นเลือดดำ ทำให้มีลิ่มเลือดเกิดขึ้นจึงเป็นผลให้เส้นเลือดขยายตัวเกิดเป็นตุ่มเล็ก ๆ นั่นหมายความว่าบริเวณหัวริดสีดวงจะมีเลือดหล่อเลี้ยงตลอดเวลา
ทำให้มีการขยายของริดสีดวงให้มีขนาดใหญ่มากขึ้น ดังนั้นแล้วการที่จะทำให้ริดสีดวงหาย จะต้องตัดการลำเลียงเลือดไปยังบริเวณหัวริดสีดวงเสียก่อน ซึ่งจะทำให้ริดสีดวงสามารถหลุดออกได้เอง โดยคำว่าหัว ริดสีดวงฝ่อ ก็คือการที่หัวริดสีดวงขาดการหล่อเลี้ยง
จากเลือดภายในร่างกายโดยแพทย์อาจจะใช้วิธียิงยางรัดหัวริดสีดวง หรือการฉีดยาบริเวณริดสีดวงทวาร รวมไปถึงผลของการเหน็บยาหรือการรับประทานยาสมุนไพร จะทำให้เลือดไม่สามารถไปเลี้ยงส่วนของหัวริดสีดวงวงได้
เมื่อวลานานขึ้นหัวริดสีดวงก็จะขาดเลือด และจะเริ่มผ่อ สุดท้ายก็จะสามารถหลุดออกจากทวารหนักหรือเนื้อเยื่อบริเวณทวารหนักได้ จึงสามารถสรุปได้ว่า หัวริดสีดวงฝ่อ ก็คืออาการของการขาดเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวริดสีดวงทำให้หัวริดสีดวงมีลักษณะ
เช่นเดียวกันกับต้นไม้ที่โดนตัดเนื้อเยื่อลำเลียงออก ทำให้มันค่อยๆเหี่ยวแห้งและยืนต้นตาย หัวริดสีดวงก็เช่นกัน เมื่อไม่มีเลือดไปหล่อเลี้ยงหัวริดสีดวงก็จะค่อยๆแห้งและก็หลุดออกมาในที่สุด
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง |
ริดสีดวง ถ่ายไม่ออก |
ริดสีดวง มีหนอง |
ริดสีดวง วิธีการรักษา |
ริดสีดวง เบื้องต้น |
หัวริดสีดวงฝ่อ |
โรค ริดสีดวง วิธีการรักษา ทำได้อย่างไร
โรค ริดสีดวง วิธีการรักษา ทำได้หลายวิธีแต่จะต้องพิจารณาด้วยว่าอาการป่วยของตนเองเกิดของตนเองนั้นมีความร้ายแรงมากน้อยเพียงใดซึ่งถ้าหากเลือกวิธีการรักษาที่ไม่เหมาะสม
ก็จะทำให้ผลการรักษาไม่เป็นพระเอกไม่เป็นที่น่าพอใจของผู้ป่วยนะซึ่งวิธีการรักษาสามารถแบ่งออกเป็น 2 ลักษณะคือการรักษาด้วยตนเองและการรักษาด้วยแพทย์เฉพาะทางดังนี้
- การรักษา ด้วยตนเอง เป็นวิธีการรักษาที่เน้นการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหาร การขับถ่ายและการใช้ชีวิตประจำวัน เริ่มจากการรับประทานผักและผลไม้เพื่อเพิ่มใยอาหารให้กับร่างกาย ซึ่งเมื่ออาหารมากผู้ป่วยก็จะลดโอกาสในการเป็นโรคท้องผูก, ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย
จะส่งผลให้อุจจาระนิ่มไม่แข็งขับถ่ายได้สะดวก, ไม่รับประทานอาหารแสลงอาจจะส่งผลต่อการรักษาริดสีดวงทวารให้ใช้ระยะเวลานานขึ้น, ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ 3 ครั้ง เพื่อทำให้ลำไส้ใหญ่มีประสิทธิภาพในการบับตัว
เพื่อทำให้ผู้ป่วยปวดอุจจาระได้ตรงเวลา และช่วยขับเคลื่อนให้อุจจาระสามารถออกนอกทวารหนักได้ดียิ่งขึ้น ารรักษาอาการอักเสบโดยการใช้วิธีการประคบเย็นประคบร้อนบริเวณทวารหนัก รวมถึงการทำความสะอาดโดยการนั่งแช่น้ำอุ่นผสมเกลือ
ตลอดจนการรับประทานยาสมุนไพรเพื่อรักษาหัวริดสีดวงให้หายและบอกลาการผ่าตัด
- การรักษา โดยแพทย์เฉพาะทาง เป็นวิธีการรักษาที่ต้องได้รับการวินิจฉัยจากแพทย์ก่อนลงมือทำการรักษาทุกครั้ง ซึ่งการรักษาในรูปแบบนี้ จะมีทั้งการรักษาที่มีอาการไม่รุนแรงจนถึงรมีอาการรุนแรงและเสี่ยงต่อการติดเชื้อ ดังนี้
- โดยการใช้ยาเหน็บ จะเป็นวิธีการรักษาที่กระตุ้นให้เลือดมีการไหลเวียนได้ดีมากยิ่งขึ้น จะส่งผลต่อการลดการคั่งของเลือดบริเวณเส้นเลือดดำได้ บางกรณีจะใช้กับยาระบาย เพื่อจะช่วยลดอาการอุจจาระไม่ออก เนื่องจากอาการท้องผูกและทำให้อุจจาระนิ่มขึ้นแ และไม่ควรใช้ติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน เพราะจะส่งผลเสียต่อร่างกายในภายหลัง
- การฉีดยา จะเป็นวิธีการฉีดเข้าบริเวณหัวของริดสีดวง เพื่อทำให้เกิดพังผืดเข้าไปรัดบริเวณหัวของริดสีดวง จะทำให้การหล่อเลี้ยงหัวริดสีดวงเป็นไปได้ยาก ส่งผลให้หัวริดสีดวงฝ่อ วิธีนี้จะมักใช้ในระยะที่ริดสีดวงมีเลือดออกและหัวของริดสีดวงไม่โผล่พ้นทวารหนักออกมามากนัก
- การใช้ยางรัดหัวริดสีดวง เป็นวิธีที่จะไม่ให้มีเลือดไปเลี้ยงบริเวณหัวริดสีดวง ซึ่งจะทำให้หัวริดสีดวงหลุดออกมาภายใน 1 สัปดาห์
- การผ่าตัด มักใช้กับการเป็นริดสีดวงภายในระยะที่ 3 และระยะที่ 4 ซึ่งเป็นระยะที่มีอาการอักเสบและความรุนแรงของโรคมากที่สุด โดยการผ่าตัดนี้มีด้วยกันหลายวิธีขึ้นอยู่กับการวินิจฉัยของแพทย์ ว่าจะใช้วิธีการผ่าตัดโดยวิธีใด ในปัจจุบันการผ่าตัดไม่จำเป็นต้องใช้ยาสลบ แค่เพียงฉีดยาชาบริเวณทวารหนักก็จะทำให้ผู้ป่วยไม่รู้สึกเจ็บขณะทำการรักษา
จากบทความนี้ ทำให้เห็นว่า ริดสีดวง วิธีการรักษา มีได้หลากหลาย ไม่จำเป็นต้องผ่าตัด เพียงแต่ผู้ป่วยต้องมีความอดทนในการใช้เวาในการรักษา และหากอาการไม่รุนแรงผู้ป่วยก็สามารถใช้วิธีการรักษาด้วยตนเองได้