การรักษาริดสีดวงทวาร โดยไม่ต้องได้รับการผ่าตัดนั้น เป็นสิ่งที่ผู้ป่วยปราถนาที่จะได้รับการรักษาโดยวิธีนี้ที่สุด แต่อย่างไรก็ดีการรักษาโดยยาก็จะต้องขึ้นอยู่กับอาการของผู้ป่วยด้วย
เช่นนั้นแล้วมี่ผู้ป่วยหลายคนจะไม่สามารถรักษาด้วยยาให้หายได้ทุกคน เพราะอาการของโรคค่อนข้างรุนแรง หรือเกิดภาวะแทรกซ้อนแล้ว
Table of Contents
ริดสีดวง ยารักษา โรคให้หายขาด
หากพูดถึงริดสีดวง หลายๆคนคงอยากทราบถึง ริดสีดวง ยารักษา โรคนี้มีหรือไม่ ซึ่งยารักษาริดสีดวงมีอยู่หลายชนิด มั้งทั้งชนิดกินและชนิดเหน็บ ชนิดกินใช้บรรเทาอาการปวดเนื่องจากการอักเสบของโรค ส่วนชนิดเหน็บเป็นยาใช้ภายนอก
ใช้เหน็บให้ริดสีดวงหลุดหรือริดสีดวงฝ่อนั่นเอง ซึ่งยังมียาที่ใช้ภายนอกมีทั้งชนิดเป็นแท่งปละชนิดเป็นขี้ผึ่ง มักจะประกอบไปด้วย ยาชา บรรดทาอาการปวด ยาลดการอักเสบและยาปฏิชีวนะดังนี้
– การใช้ยาชนิดแท่ง ยาชนิดนี้ควรเก็บไว้ในตู้เย็นน้ำเย็น เพื่อให้ยาแข็งตัว ก่อนที่จะนำออกมาจะนำแท่งสอดเข้ารูทวารหนักให้สุด ใช้ทำวันละ1-2 ครั้ง หลังถ่ายอุจจาะเสร็จ หรือตอนก่อนเข้านอนก็ได้โดยให้ทำห่างกันประมาณ 12 ชั่วโมง
-ชนิดขี้ผึ้ง ใช้บีบยาเข้าไปในทวารหนักซึ่งมีระยะเวลาการใช้ยา 12 ชั่วโมง ควรทำวันละ1-2 ครั่งเช่นเดียวกันกับชนิดแท่ง
– การใช้ยาหดตัวของหลอดเลือด ยาช่วยเพิ่มความแข็งแรงของหลอดเลือดดำ ยาระบาย มาช่วยในการบรรเทาอาการของริดสีดวงทวาร
– การใช้ยาสมุนไพรที่ สำหรับผู้ที่เป็น ริดสีดวง ยารักษา ประเภทสมุนไพรก็สามารถใช้ได้เช่นเดียวกัน
เช่น ใบมะขามแขก ช่วยเบาเทาอาการท้องผูก ถ่ายยาก หรือถ่ายไม่ออก กระตุ้นการเคลื่อไหวของลำไส้ แก้ริดสีดวงทวาร, เถาสะค้าน ช่วยขับลมในลำไส้ ทำให้ผายลมและเรอ แก้แน่นจุกเสียด ปรับธาตุและบำรุง, เมล็ดพริกไทย
ช่วยลดแก๊ซในระบบทางเดินอาหารกระตุ้นการไหลของน้ำย่อยในกระเพราะ ช่วยในการย่อยอาหาร แก้อาหารไม่ย่อย ช่วยย่อยสารพิษตกค้างที่ไม่สามารถย่อยได้, ต้นอัคคีทวาร
ช่วยในการย่อยอาหาร ขับลมแก้ปวดเกร็งท้อง แก้อาการจุกเสียด ท้องอืด ส่วนของใบช่วยให้ริดสีดวงทวารยุบฝ่อได้ เป็นต้น
นอกจากการกินยาและสมุนไพรแล้ว เพื่อให้ได้ผลที่ดีควรปรับพฤติกรรมการกินอาหาร ที่ย่อยได้ง่ายๆเช่นเนื้อปลา เนื้อไก่ กินผลไม้ และผักสีเขียวเพื่อข่วยในการย่อย ช่วยให้ขับถ่ายได้ดี ปรับพฤติกรรมการเข้าห้องน้ำ ไม่เบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ ฝึกขับถ่ายในตอนเช้าทุกวัน เพื่อให้เกิดความเคยชิน
ริดสีดวง ระยะ ที่ 1 อาการและการรักษา
หากพูดถึง ริดสีดวง ระยะ ที่ 1 หรือระยะแรก ซึ่งเกิดจากการโป่งโพงของเส้นเลือดดำบริเวณปลายสุดของลำใส้ใหญ่เกิดการโป่งพองทำให้เกิดเป็นติ่งขนาดเล็กอยู่ภายในทวารหนักเรียกว่า
ซึ่งในระยะนี้ผู้ป่วยจะไม่สามารถรับรู้ได้ว่าเป็นโรค เนื่องจากริดสีดวงมีขนาดเล็กยังไม่โผล่ออกมาจากทวารหนักอไม่สามารถมองเห็นหรือคลำ สัมผัสไม่ได้
โดย ริดสีดวง ระยะ ที่ 1 จะสามาถรักษาให้หายได้มากกว่าในระยะอื่นเนื่องจากเป็นในระยะ ที่ความรุนแรงของโรคน้อย โดยทำการรักษาได้ด้วยตนเอง คือ
– กินผัก ผลไม้สีเขียว กินอาหารที่ย่อยได้ง่ายๆ เช่นเนื้อปลา เนื้อไก่ เพิ่มปริมาณของเส้นใยให้ระบบย่อยอาหาร
– ดื่มน้ำ การดื่มน้ำอย่างน้อยวันละ8-12แก้วเพื่อให้ได้น้ำที่เพียงพอต่อร่างกาย น้ำเป็นส่วนหนึ่งของอุจจาระหากดื่นน้ำน้อยก็จะทำให้อุจจาระแข็ง ทำให้ขับถ่ายอุจจาระยาก
– ไม่อั้นอุจจาระ เมื่อมีการการปวดอุจจาระไม่ควรอั้นเพราะจะส่งผลให้ระบบขับถ่ายที่เปลี่ยนไปและหลีกเลี่ยงการเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ เพาะอาจทำให้มีเลือดออก มีการอักเสบหรือเจ็บได้ ควรปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการเข้าห้องน้ำใหม่ เพื่อฝึกการขับถ่ายในตอนเช้า และเกิดความเคยชิด เมื่อถึงเวลาก็จะรู้สึกปวดขึ้นมาเอง
– การใช้ยาสมุนไพร การใช้ยาสมุนไพรในการรักษาเป็นอีกวิธีที่ช่วยในเรื่องการรักษาริดสีดวง ยาบางตัวช่วยให้ริดสีดวงหลุด และแผลหายเร็ว มีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของระบบย่อยอาหารได้ดีขับลม ช่วยให้ขับถ่ายได้ง่ายและช่วยให้ไม่เป็นริดสีดวงเรื้อรัง ช่วยในการรักษา ริดสีดวง ระยะ ที่ 1 ได้ดี
ริดสีดวง ระยะ 2 อาการและการรักษา
เมื่อริดสีดวงก่อตัวจากเล็กๆภายในทวารหนักเมื่อนานเข้าริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นกว่าเดิม เรียกว่า ริดสีดวง ระยะ 2 เมื่อมีการขับถ่ายอุจจาระหรือการเบ่งถ่ายอุจจาระหัวริดสีดวงก็จะยื่นออกมา หรือในขณะที่ผู้ป่าวยมีการไอ จาม
ทำให้เกิดการเกร็งในท้อง จะทำให้ริดสีดวงโผล่ออกมา และสามารถหดกลับเข้าไปในทวารหนักได้เอง ในผู้ป่วยนะยะนี้อาจมีความรู้สึก เจ็บ คัน ร่วมด้วย โดยการรักษามี ดังนี้
– กินผักผลไม้ที่ช่วยในการขับถ่าย เพื่อลดอาการท้องผูก
– ดื่มน้ำให้มากๆ เพราะจะช่วยให้ขับถ่ายได้ดี กินอาหารที่ย่อยง่ายๆ
– การรักษาเฉพาะเจาะจง คือการฉีดยาเพื่อให้หัวริดสีดวงหลุด การเย็บตัดริดสีดวง การใช้ยางรัดหัวริดสีดวงเพื่อให้หัวหลุด การรักษาโดยวิธีเฉพาะเจาะจงในการรักษา ริดสีดวง ระยะ 2 จะต้องมีการรักษาโดยวิธีทั่วไปหรือใช้ยาสวนหากมีอาการปวดอยู่
คำค้นหาที่เกี่ยวข้อง |
ริดสีดวง ระยะ 2 |
ริดสีดวง ระยะ 3 |
ริดสีดวง ระยะ ที่ 1 |
ริดสีดวง ระยะ4 |
ริดสีดวง รักษา |
ริดสีดวง ห้ามกิน |
ริดสีดวง ระยะ 3 อาการและการรักษา
หากพูดถึง ริดสีดวง ระยะ 3 อาการจะแสดงมากขึ้น เมื่อหัวริดสีดวงมีขนาดใหญ่ขึ้นเรื่อยๆ เมื่อมีการไอ จาม หรือการขับถ่าย ซึ่งเกิดจากแรงเบ่ง ทำให้หัวริดสีดวงโผล่ออกมา แล้วไม่สามารถหดกลับเข้าไปในทวารหนักได้เอง โดยผู้ป่วยต้องใช้นิ้วดันให้หัวริดสีดวงเข้าไปในทวารหนักถึงจะเข้าไปในตำแหน่งเดิมได้
เราจะเรียกผู้ป่วยในระยะนี้ว่า ริดสีดวง ระยะ 3 ทั้งนี้เมื่อมีการขับถ่ายก็มักพบว่ามีเลือดไหลออกมาหรือหลังการขับถ่ายก็จะพบว่ามีเลือดอยู่เสมอ อาจมีอาการปวด อาการอักเสบ จากการขับถ่ายร่วมด้วย นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการของโรครุนแรงมากขึ้น ซึ่งโดยการรักษาในระยะนี้สามารถทำได้ โดย
– กินผักผลไม้ที่ช่วยในการขับถ่าย เพราะมีกากใยจำนวนมาก เช่นเดียวกับระยะที่ 1 และ 2
– ดื่มน้ำให้เพียงพอต่อความต้องการของร่างกาย เพราะจะช่วยให้ขับถ่ายได้ดี กินอาหารที่ย่อยง่ายๆ
– การฉีดยาเพื่อให้หัวริดสีดวงหลุด
– การเย็บตัดริดสีดวง การใช้ยางรัดหัวริดสีดวงเพื่อให้หัวหลุด
– การรักษาด้วย อินฟาเรดหรือการรักษาด้วยกระแสไฟฟ้า วิธีนี้จะช่วยรักษาริดสีดวง ได้ครั้งละ3หัว แต่ต้องมีการจี้ซ้ำ 3-4 สัปดาห์หลังจากการรักษาในครั้งแรก การรักษาด้วยอินฟาเรดและกระแสไฟฟ้าในการรักษา ริดสีดวง ระยะ 3 จะต้องมีการรักษาโดยวิธีทั่วไปหรือใช้ยาสวนหากมีอาการปวดอยู่
ริดสีดวง ระยะ4 อาการและการรักษา
ริดสีดวง ระยะที่4 ริดสีดวงมีการก่อตัวใหญ่ขึ้นมาก ๆ ซึ่งในระยะนี้ริดสีดวงจะมองเห็นได้ชัด เมื่อมีการขับถ่ายหรือเบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ ริดสีดวงจะโผล่ออกมา และไม่สามารถกลับเข้าไปในทวารหนักได้แล้วจึง ซึ่งเมื่อมีการเบ่งถ่ายอุจจาระ มักมีเลือดไหลออกมา ในผู้ป่วยบางรายก็มักจะมีน้ำเหลืองไหลออกมาปนเลือด
ทำให้เกิดการเปียกชื้นตลอดเวลา ก่อให้เกิดความสกปรก บางทีอาจมีกลิ่นด้วย ส่งผลให้เกิดภาวะการติดเชื่อต่างๆได้ง่ายขึ้น ซึ่งในระยะนี้เป็นระยะสุดท้ายมีความรุนแรงมาก และต้องทำการรักษาด้วยวิธีการผ่าตัด หลังจากการผ่าตัดต้องทำความสะอาดแผลให้สะอาด
กินยาแก้ปวด รับประทานอาหารที่ช่วยให้ย่อยง่ายๆ ขับถ่ายได้สะดวก การกินยาบำบุงเลือดเพื่อให้ร่างกายกลับมาแข็งแรงและปกติ รวมถึงต้องปรับพฤติกรรมการขับถ่ายใหม่โดยการไม่เบ่งถ่ายอุจจาระแรงๆ ฝึกขับถ่ายให้เป็นเวลา จะสามารถรักษา ริดสีดวง ระยะที่4 ให้หายขากและไม่กลับมาเป็นซ้ำได้
ริดสีดวง ห้ามกิน อาหารประเภทไหน
ในผู้ป่วยหลายๆคนอาจไม่ทราบว่า ริดสีดวง ห้ามกิน อะไรบ้าง ซึ่งอาหารแสลงของริดสีดวงมีหลายอย่างเมื่อกินเข้าไปแล้วอาจทำให้เกิดโรค หรือในผู้ป่วยที่เป็นแล้วก็จะทำให้อาการของโรคแย่กว่าเดิมซึ่ง ริดสีดวง ห้ามกิน อาหารดังต่อไปนี้
– เนื้อสัตว์ควรหลีกเลี่ยงจำพวกเครื่องในสัตว์ทุกชนิด หรือเนื้อสัตว์ที่มีลักษณะย่อยยาก
– ผัก ผักที่ไม่ควรรับประทานคือหน่อไม้ดองทุกชนิด กระหลำปลี แครอท มะระ ชะอม เป็นต้น ก่อนทำไปรับประทานควรล้างให้สะอาดและผ่านการทำสุกแล้วเท่านั้น
– อาหารที่ผ่านการแปรรูป ควรห่างให้ไกลและไม่ควรรับประทานเลย
– ผลไม้ ผลไม้บางชนิดที่ส่งผลต่อระบบขับถ่ายเช่นทุเรียน ขนุน เงาะ มะไฟ มะยม มะขามเปียก เสาวรส เป็นต้น
– อาหารทะเล ในการรักษาโรคริดสีดวงทวาร ควรงดอาหารทะเลทุกชนิด
– เครื่องดื่ม งดเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน และแอลกอฮอล์ เช่น กาแฟ ชา น้ำอัดลม เครื่องดื่มชูกำลัง เป็นต้น
– หลีกเลี่ยงอาหารที่มีรสจัด โดยเฉพาะเผ็ดจัดไม่ควรรับประทานเลย
การรู้จักวิธีการรักษาโรคริดสีดวง ทราบอาการของโรคแต่ละระยะ สามารถหลีกเลี่ยงอาหารที่เป็นอันตรายต่อผู้ป่วย รวมทั้งสามารถเลือกรับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ต่อร่างกายได้นั้น
จะทำให้ผู้ป่วยรายนั้นมีโอกาสในการรักษาริดสีดวงทวารได้หายดีเร็วกว่าผู้ป่วยที่ไม่ยอมปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของตนเอง และลดความเสี่ยงในการเป็นโรคนี้ซ้ำได้เป็นอย่างมาก